พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่น 2 ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ในหลวงเสด็จเททองด้วยพระองค์เอง ส่วนที่เหลือนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเททองด้วยพระองค์เอง เป็นเวลา ๙ วัน ถือเป็นสิ่งมงคล ล้ำค่า น่าสะสม รับประกันความแท้ดูง่าย รับประกันความแท้ ๑ ล้านเปอร์เซ็น เก๊คืนเงินเต็มจำนวน
พระกริ่งปวเรศ เป็นสมัญญานามของพระกริ่งที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้น ทราบกันมาว่า ทรงสร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายที่ทรงคุ้นเคยสนิทสนม และ เจ้านายที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีจำนวนน้อยมาก ไม่เกิน 30 องค์ ทรงสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะ
พุทธลักษณะ พระกริ่งปวเรศนั้น สันนิษฐานว่า ทรงสร้างขึ้นโดยอาศัยเค้าจากพระกริ่งจีนที่นิยมเรียกกันว่าพระกริ่งใหญ่ในปัจจุบัน พระองค์ท่านจะทรงสร้างขึ้นในปีใดนั้นปัจจุบันไม่มีผู้ใด ภายหลังหลวงชำนาญเลขา (หุ่น) สมุห์บัญชีในกรมของพระองค์ ได้ขอประทานอนุญาตนำแบบพิมพ์ไปสร้างขึ้นอีกมีจำนวนเท่าไรไม่ปรากฎ โดยที่พระกริ่งนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กระมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงสร้างขึ้นจึงนิยมเรียกกันทั่วไปว่า พระกริ่งปวเรศ ในอาณาจักรพระเครื่องนับถือกันว่า พระกริ่งปวเรศเป็นพระโลหะที่มีค่านิยมสูงและยากยิ่งที่จะเสาะแสวงหาไว้สักการะบูชา จึงเป็นปูชนียวัตถุที่มีคุณค่าทางพุธศิลป์และทางจิตใจ กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะเดียวกันนี้ ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลายด้วย
พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ ปวเรศ
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตริย์ ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จำลองแบบ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัย และ เทิดพรเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ ทุกองค์ด้วย
วัตถุประสงค์
1.ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลส่วนพระองค์
2.ถวายวัดบวรนิเวศวิหาร
3.ถวายวัดญาณสังวรารามมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์
4.เป็นทุนใช้จ่ายในการแกะสลักพระพุทธรูปใหญ่ ณ เขาชีจรรย์
5.เป็นทุนบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสมทบทุนส่วนหนึ่งเพื่อสร้างตึก ภปร. 72 ปี สภากาชาดไทย
การดำเนินการ
พระกริ่ง –พระชัยวัฒน์ ปวเรศ เป็นพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดบวรนิเวศวิหารโดยตรงอีกรุ่นหนึ่ง ที่สร้างขึ้นในมหาศุภมงคลสมัยพิเศษสุดที่ปวงประชาชาวไทยปลาบปลื้มปิติอย่างยิ่ง ดำเนินการสร้างโดยวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมทั้งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารฯ ด้วยความร่วมมือของกระทรวงมหาดไทย
รูปแบบองค์พระ คณะกรรมการดำเนินงานได้ทำการถอดพิมพ์พระกริ่งปวเรศองค์เดิมของวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเป็นแม่พิมพ์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่ ส่วนพระชัยวัฒน์ปวเรศ ได้มอบให้ปฏิมากร มนตรี พัฒนางกูร เป็นผู้ปั้นหุ่นขี้ผึ้งเป็นแม่พิมพ์
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร จัดสร้างโดยกรรมวิธีเททองหล่อพระแบบโบราณของไทยที่สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดในกำหนดพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และ ทำการตกแต่งองค์พระทั้งหมดที่วัดบวรนิเวศวิหาร ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของคณะกรรมการ คือ คงสภาผิวองค์พระไว้ตามสภาพเดิมที่เททองหล่อพระเสร็จแล้ว ดังนั้น ผิวองค์พระตามธรรมชาตินี้มีจำนวนหนึ่งที่ผิวไม่เรียบ จึงเห็นสมควรให้ช่างทำการตกแต่งขัดผิวองค์พระใหม่อีกครั้งหนึ่ง มิได้มีการหล่อพระเสริมเพิ่มเติมแต่อย่างใดทั้งสิ้น
โลหะ ทองชนวน และ แผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วยทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน( แร่ชนิดหนึ่ง) เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และ ปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญ และหายาก ตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่เก่าก่อน เมื่อได้อายุตามควรแล้ว ผิวองค์พระจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า “เนื้อกลับ”
ทองชนวนหล่อพระ ประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพทุธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ที่ยังคงเหลืออยู่)
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศนเทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวน อื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาดไทย และ คณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากจังหวัดต่างๆ ของประเทศ ประกอบด้วย พระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และ พระอาจารย์มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป
จำนวนพระที่สร้าง
ตามโครงการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดสร้าง จำนวน 25,000 ชุด แต่เนื่องจากกำหลดให้ช่างเททองหล่อพระทุกองค์ในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงทำการเททองหล่อพระตามกรรมวิธีแบบโบราณของไทย ซึ่งก็เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการเททองหล่อพระในกำหนดพิธี ดังนั้น ช่างจึงต้องทำหุ่นองค์พระเพิ่มขึ้นเผื่อเสียไว้ตั้งแต่แรก เพื่อจะได้ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในกำหนดพิธี การเททองหล่อพระในครั้งนี้ ได้พระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ เป็นองค์พระครบทุกองค์ตามจำนวนหุ่นพระที่เตรียมไว้ ปรากฎเป็นอัศจรรย์ประการหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ พระที่เห็นสมควรคงไว้เป็นช่อ มีดังนี้
พระกริ่งปวเรศ จำนวน 15 ช่อ
พระชัยวัฒน์ ปวเรศ จำนวน 32 ช่อ
พิธีเททองหล่อพระ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ โปรดเกล้าฯ ทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27ธันวาคม 2528 เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ ของพิธีเททองหล่อพระ ทองชนวนจากปฐมพิธีนี้จักเป็นทองชนวนในการหล่อพระสืบต่อไป ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีการเททองหล่อพระ ณ วัดบวรนิเวศวิหารให้เสร็จทั้งหมดก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก
พิธีพุทธาภิเษก
การประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประกอบพิธีรวม 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต
ครั้งที่2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ – พฤหัสบดี ที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี
ครั้งที่3 พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน 2530 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต
พิธีครั้งนี้นับว่า เป็นพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ที่เป็นทางการครั้งแรก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระกริ่งปวเรศที่สร้างครั้งนี้ ทุกองค์บรรจุผงจิตรลดา
องค์ประกอบการสร้งพระล้วนแต่สำคัญอย่างยิ่งยวด จะเสาะแสวงหาได้ยากยิ่ง
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต จึงอุดมด้วยสิริมงคลอย่างสูง
รายนามพระภาวนาจารย์
พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ครั้งที่ 1
วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ประธานพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต และไ ด้อาราธนาพระภาวนาจารย์อีก 36 รูป จากภาคต่างๆ นั่งปรกอธิษฐานจิต มีรายนามดังต่อไปนี้
1.พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน กรุงเทพมหานคร
3.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังค์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
4.พระครูอาคมวิสุทธิ (คง) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
5.พระครูญาณวรกิจ (กล้วย) วัดหมูคุด จ.จันทบุรี
6.พระรัตนคุณากร (แช่ม) วัดบ่อพุ จ.จันทบุรี
7.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
8.พระครูเมธีธรรมสาธก (หนู) วัดสุนทรพิชิตาราม จ.นครนายก
9.หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
10.พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
11.พระอาจารย์นก วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
12.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี
13.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี
14.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี
15.พระอาจารย์ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
16.พระวิสุทธาจารคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
17.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา
18.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
19.พระครูอนุรักษ์วรคุณ (สง่า) วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี
20.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆศิตาราม จ.สมุทรสงคราม
21.พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่) วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
22.พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
23.พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี
24.พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
25.พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
26.หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
27.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
28.พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
29.พระครูนนทสิทธิการ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
30.พระครูวิจิตรธรรมานุวัตร วัดหนองกระบอก จ.ระยอง
31.พระวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ
32.พระครูปริยัติคุณาธาร วัดชนะสงคราม
33.พระญาณสมโพธิ (ขวัญ) วัดอรุณราชวราราม
34.พระปริยัติมุนี ( ชูศักดิ์ ) วัดหงส์รัตนาราม
35.พระครูมงคลญาณสุนทร (ผ่อง) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส
36.พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร
รายนามพระภาวนาจารย์นั่งปรก
พิธีมหามงคลพุทธาภิเษกพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ ปวเรศ
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ครั้งที่ 3
วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน 2530
1.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
2.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
3.พระมงคลราชมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
4.พระราชพุทธิรังษี วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
5.พระสุนทรธรรมภาณี วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
6.พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
7.พระโพธิสังวรเถร วัดโพธินิมิตร กรุงเทพมหานคร
8.พระอุดมสังวรเถร วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
9.พระภาวนาพิศาลเถร วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
10.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
11.พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
12.พระสุธรรมยานเถร วัดจันทาราม จ.อุทัยธานี
13.พระครูสุนทรธรรมวัตร วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
14.พระครูประสิทธิ์ภาวนาคุณ วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
15.พระครูสังวรสมาธิวัตร วัดเภตราสุขารมณ์ จ.ระยอง
16.พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
17.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
18.พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จ.ปัตตานี
สนใจโทรสอบถามได้ที่ โทร. 0828218588
Line ID : khun-jade
|
|
|
|